วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รีวิว เครื่องซีล เครื่องซีลถุง เครื่องซีลปากถุง รุ่น FR-900 ใหม่ (NEW 2017)

รีวิว เครื่องซีล เครื่องซีลถุง เครื่องซีลปากถุง รุ่น FR-900 ใหม่ (NEW 2017)

หลังจากเคยรีวิว เครื่องซีลปากถุง แบบสายพานต่อเนื่อง รุ่น FR-900 ไปแล้ว มาในปีนี้ เครื่องรุ่นนี้ มีการปรับปรุงรายละเอียดของเครื่องมาใหม่ วันนี้เราจะมาดูกันว่า รุ่นใหม่ แบบไมเนอร์เชน จะมีอะไรดีกว่าเดิมหรือปรับแล้วแย่กว่าเดิมบ้าง ไปชมกันเลยครับ

อ้าว...กล่องเหมือนเดิม ขนาดเท่าเดิม


ตัวเครื่องให้ความรู้สึกถึงความแน่นหนามากขึ้นกว่าเดิม


สเปคเครื่องก็ยังคงเดิม

แผงควบคุมการทำงาน ก็ยังเหมือนเดิม


จุดแตกต่าง จุดแรกที่สังเกตเห็น คือ สวิตซ์ เปิด – ปิด แบบเบรกเกอร์ ซึ่งต่างจากรุ่นที่แล้ว ที่เป็นสวิตซ์เปิด ปิดแบบธรรมดา


จุดที่สอง คือ ฝาหลังเปิด – ปิด แบบไม่ต้องขันน็อต ซึ่งให้ความสะดวกสบายในการใช้งานมากขึ้น


จุดปรับปรุงอีกจุดที่น่าสนใจ คือ ชุดล็อกสำหรับช่วยในการสายพานเทปลอน ซึ่งแบบเดิมนั้นจะไม่มี ในการเปลี่ยนสายพานเทปลอน เราต้องทำการดันชุดลูกกลิ้งจากด้านขวา มาซ้าย เพื่อหย่อนสายพาน และทำการเปลี่ยนโดยการดันชุดลูกกลิ้งค้างไว้ แต่ในรุ่นนี้จะมีชุดล็อกลูกกลิ้ง เมื่อทำการดัน เพื่อให้การเปลี่ยนสายพานเทปลอนทำได้สะดวก


ในภาพรวมตัวเครื่องและการทำงานยังคงไม่ต่างจากเดิม แต่รายละเอียดจุดที่เปลี่ยนแปลงนั้น ก็เปลี่ยนแปลงในจุดที่ทำให้ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น แม้จะเป็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แต่ก็มีประโยชน์ต่อการใช้งาน ถือเป็นการปรับปรุงที่ดีขึ้น ให้ 3 ผ่าน ครับ


วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รีวิว เครื่องซีล เครื่องซีลถุง เครื่องซีลปากถุง รุ่น FRBM-810ll

รีวิว เครื่องซีล เครื่องซีลถุง เครื่องซีลปากถุง รุ่น FRBM-810ll

เครื่องซีล เครื่องซีลถุง เครื่องซีลปากถุง รุ่นนี้เป็นเครื่องซีลถุงพลาสติก แบบแนวตั้ง ที่มีระบบพิมพ์วันที่ในตัว การพิมพ์วันที่จะเป็นการพิมพ์แบบหมึก 2 บรรทัด ลงบนรอยซีล ซึ่งจะมีลักษณะแบบเดียวกับรุ่น FRD-1000 แต่รายละเอียดของเครื่องรุ่นนี้จะเป็นอย่างไร เรามาดูกันเลยครับ
เครื่องรุ่นนี้ มาในกล่องขนาดใหญ่


เปิดกล่องมาร้องอ๋อ....ที่มากล่องใหญ่ขนาดนี้ เพราะมาแบบที่ประกอบเป็นแนวตั้งมาเรียบร้อยแล้ว แตกต่างจากรุ่น FRD-1000 ที่มาในแบบแนวนอน แล้วมีอุปกรณ์แกนแนวตั้งและชุดแนวตั้งให้มาประกอบภายหลัง


ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่และหนักกว่า รุ่น FRD-1000 ชัดเจน ดูแข็งแรงมั่นคง กว่ารุ่น FRD-1000





มาดูขนาดของตัวเครื่องกันครับ





ขนาดสายพานลำเลียง

ขนาดแท่งซีลที่ยาวกว่ารุ่น FRD-1000




ชุดกดลายรอยซีล และชุดพิมพ์วันที่


ขนาดตัวอักษรและตัวเลข สำหรับพิมพ์วันผลิตและวันหมดอายุ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ารุ่น FRD-1000


แผงวงจรและมอเตอร์ภายในเครื่อง ซึ่งจะเห็นขนาดพัดลมระบายอากาศขนาดใหญ่ ต่างจากรุ่น FRD-1000 ที่เป็นพัดลมขนาดเล็ก


รีวิว เครื่องซีลสูญญากาศ เครื่องแพ็คสูญญากาศ รุ่น DZ-400

รีวิว เครื่องซีลสูญญากาศ เครื่องแพ็คสูญญากาศ รุ่น DZ-400

เครื่องซีลสูญญากาศ รุ่น DZ-400 รุ่นนี้ มาในรูปแบบใหม่ สำหรับปี 2017 นี้ ซึ่งรายละเอียดโดยรวม คือเป็น เครื่องแพ็คสูญญากาศ แบบตั้งพื้น มีล้อเลื่อน สามารถเคลื่อนย้ายได้ และมีขนาดแท่งซีลยาว 40 ซม. หรือ 400 มม. ตามชื่อรุ่นนั่นเอง แต่เราจะมาดูกันว่า ในรูปลักษณ์ใหม่นี้มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือมีสิ่งปรับปรุงอะไรที่น่าสนใจบ้าง ไปชมกันเลยครับ
ต้องบอกว่า ในรุ่นนี้มีให้ประทับใจกันตั้งแต่แกะลังกันเลยทีเดียว การบรรจุลังไม้มานั้น มีการแพ็คที่ค่อนข้างดี มีโฟมกันกระแทก ซึ่งดูแล้วค่อนข้างมั่นใจเวลาเคลื่อนย้าย พอเปิดให้ตัวเครื่อง ต้องบอกว่างานค่อนข้างละเอียดเรียบร้อยเลยทีเดียว


มีสวิตซ์ เปิด-ปิดเครื่อง แบบเบรกเกอร์ มีปุ่มหยุดฉุกเฉิน (Emergency Stop) ด้านข้างเพิ่มมา นอกเหนือจากที่มีด้านหน้าแผงควบคุม

ชุดล้อเลื่อน มีตัวล็อกล้อ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน

แผงหน้าจอ สำหรับตั้งค่าใช้งานเครื่อง ซึ่งมีเหมือนๆ กันในทุกรุ่น ตั้งแต่ Vacuum Meter ,Emergency Stop, ในส่วนของการตั้งค่า Vacuum,Sealing และ ระดับความร้อน LOW,MID,HIGH

ชุดอุปกรณ์มาตรฐานที่แถมมากับตัวเครื่อง น้ำมันปั๊มแวคคั่ม,ลวดซีล และผ้าเทปลอน สำหรับปิดทับลวดซีล

ห้องสูญญากาศ แบบโค้งลึก

สำหรับขนาดตัวเครื่อง



ระบบของแท่งซีล เป็นระบบถุงลมสำหรับยกแท่งซีล

ระบบภายในตัวเครื่อง จะมีมอเตอร์ ปั๊มดูดอากาศ หม้อแปลง บอร์ดหน้า สำหรับตั้งค่าการทำงาน


มาดูขนาดของห้องสูญญากาศ,ขนาดแท่งซีลและขนาดระหว่างแท่งซีล ซึ่งทั้ง 3 ขนาด นี้ เป็นสิ่งสำคัญในการเลือกใช้งานเครื่องซีลสูญญากาศ เพราะจะสามารถบอกได้ว่า จะสามารถใช้งานกับถุงที่ลูกค้ามีได้หรือไม่ และได้ครั้งละกี่ถุงต่อครั้ง




ในการใช้งาน เราสามารถวางถุงสำหรับ แพ็คสุญญากาศ ถ้าใช้งานถุงขนาด 7*11 นิ้ว ปกติจะเป็นขนาดสำหรับบรรจุ 1 กิโลกรัม (1 กก.) จะวางได้ 4 ถุง โดยวางข้างละ 2 ถุง


ถ้าเราใช้งานถุงที่มีขนาดเล็กลงมา ก็จะสามารถวางถุงได้มากเพิ่มขึ้น อย่างเช่น ในกรณีที่ใช้งานถุงขนาด 3*5 นิ้ว จะวางได้ 8 ถุง โดยวางข้างละ 4 ถุง

ในกรณีวางถุงขนาดใหญ่ขึ้น อย่างเช่น ถุงขนาด 8*12 นิ้ว ปกติเป็นถุงสำหรับบรรจุ 1.5 กิโลกรัม (1.5 กก.)  จะวางได้ 2 ถุง ข้างละ 1 ถุง แต่จะไม่สามารถวางข้างเดียวกันได้ ต้องวางข้างละถุง เหมือนกันถุงขนาด 9*14 นิ้ว เช่นกัน ซึ่งถุง 9*14 นิ้ว  ปกติเป็นถุงสำหรับบรรจุ 2 กิโลกรัม (2 กก.)


ซึ่งจากขนาดเครื่อง ขนาดห้องสูญญากาศ ขนาดแท่งซีล และการวางถุงขนาดต่างๆ น่าจะทำให้ลูกค้าที่สนใจเครื่องซีลสูญญากาศ เครื่องแพ็คสูญญากาศ สามารถพิจารณาเลือกใช้งานได้ว่าเครื่องขนาดใดน่าจะเหมาะกับธุรกิจของท่าน