วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด แบบอุโมงค์ความร้อน

การเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด แบบอุโมงค์ความร้อน

เครื่องอบฟิล์มหด แบบอุโมงค์ความร้อน สามารถใช้กับสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ แต่ความแตกต่างของเครื่องที่จะเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับขนาดและวิธีการทำความความร้อน แต่หลักการของเครื่องอบฟิล์ม แบบนี้ คือการให้ความร้อนและทำงานโดยให้สินค้าเดินทางผ่านสายพาน เป็นการทำงานแบบต่อเนื่อง
รูปแบบของเครื่องอบฟิล์มหด จะพบมากอยู่ 3 แบบ คือ ระบบอินฟราเรด ,ระบบหมุนเวียนลมความร้อน และอุโมงค์อบไอน้ำ ซึ่งแต่ละประเภท จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
ระบบอบไอน้ำ Steam Shrink Tunnels เป็นที่นิยมใช้สำหรับอบสลากขวด อบคอขวด หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นทรงกระบอก ใช้ระบบไอน้ำในการหดรัดฟิล์ม แต่ระบบจะมีราคาสูงและต้องมีการติดตั้งระบบท่อน้ำเข้ากับเครื่องด้วย
ระบบอินฟราเรด Infrared Shrink Tunnels  เป็นระบบที่ใช้พลังงานความร้อนจากหลอดอินฟราเรด ซึ่งหลอดอินฟราเรดนั้น จะให้ความร้อนได้ดี ซึ่งทำงานกับฟิล์มได้หลากหลายชนิด แต่หลอดจะมีอายุการใช้งานและเมื่อเทียบกันแล้ว จะมีราคาสูงกว่าแบบระบบหมุนเวียนความร้อน
ระบบหมุนเวียนความร้อน Recirculating Shrink Tunnels เป็นระบบที่นิยมมากที่สุด เพราะราคาและความแข็งแรทนทาน สามารถใช้งานได้กับฟิล์มหลากหลายชนิดอีกด้วย
ปัจจัยในการเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด แบบอุโมงค์ ความร้อน
มีหลายปัจจัยในการเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด ดังที่กล่าวข้างต้น ระบบของตัวเครื่องก็เป็นปัจจัยหนึ่ง และยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ที่เป็นปัจจัยในการเลือกใช้งาน
ระบบไฟฟ้า เป็นปัจจัยในการเลือกใช้ เครื่องอบฟิล์มหด จะมีทั้งแบบ 220V 1 เฟส และแบบ 380V 3 เฟส ซึ่งความเร็วในกการให้ความร้อนจะแตกต่างกัน ปริมาณพลังงานไฟฟ้าก็จะแตกต่างกันด้วย
ขนาดอุโมงค์และขนาดสินค้า จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเลือกใช้งาน ว่าสินค้าจะสามารถใช้งานกับเครื่องได้หรือไม่  การหดรัดตัวของฟิล์มจะทำได้ดีเพียงใด
การเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด แบบอุโมงค์ความร้อน 450
ชนิดฟิล์มที่จะใช้งาน ชนิดและความหนาของฟิล์ม จะเป็นปัจจัยที่สำคัญ ถ้าฟิล์มหนาจะต้องใช้เครื่องให้ความร้อนมากขึ้น ถ้าฟิล์มบางก็จะสามารถใช้งานเครื่องที่มีขนาดเล็กลงมาได้ (การเลือกฟิล์มหดเพื่อใช้งานกับเครื่องอบฟิล์มหด)
คงพอจะได้เห็นภาพกันไปบ้างแล้ว ว่าการเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด แบบอุโมงค์ความร้อนนั้น ควรจะเลือกแบบไหนให้สามารถใช้งานได้เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องการห่อฟิล์ม

เครดิต : packingthai.com

รีวิว เครื่องซีลสูญญากาศ Fresh Sealer World 2016

รีวิว เครื่องซีลสูญญากาศ Fresh Sealer World 2016

หลังจาก เครื่องซีลสูญญากาศ Fresh Sealer World 2013 เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย การตอบรับของเครื่องซีลสูญญากาศรุ่นนี้ค่อนนข้างดี ด้วยความที่ตัวเครื่องเครื่องมีความสวยงาม การใช้งานสะดวก เพราะเป็นระบบอัตโนมัติ และที่สำคัญสามารถใช้งานกับถุงจีบขยายข้าง เพื่องานแพ็คข้าวสาร แบบสี่เหลี่ยม ซึ่งให้งานออกมาค่อนข้างดี ทำให้มีการนำเข้า เครื่องซีลสูญญากาศ Fresh Sealer World 2016 ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ ที่มีการปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้งาน ดังนั้นเราจะมา รีวิว เครื่องซีลสูญญากาศ Fresh Sealer World 2016 ว่าจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

มองดูผ่านๆภาพรวมตัวเครื่องเล็กและบางลงกว่าเดิม
รีวิว-เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016
ในกล่องยังคงมีถุงลายนูนแถมมาให้ทดลองใช้งานเหมือนเดิม ทำให้เราทราบว่ารุ่นนี้ยังคงรองรับการใช้งานถุงแบบลายนูนและถุงจีบ ขยายข้างเท่านั้น แบบเดียวกับรุ่น 2013
เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016
เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016

รุ่นนี้วัสดุเคลือบผิวด้านบนเป็นสแตนเลส มองแล้วให้ความแข็งแรงและสวยงามขึ้นมากเลยทีเดียว ส่วนวัสดุอื่นๆเป็นพลาสติก

เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016

ปุ่มกดปลดล็อคด้านข้าง มีขนาดใหญ่และดูแข็งแรงขึ้น

เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016
เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016

ด้านหลังแสดงชื่อรุ่นและระบบไฟ ซึ่งใช้งาน ไฟ 220V ไฟบ้านปกติทั่วไป

เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016-7

รุ่นนี้มีการย้ายแท่งซีลลงมาไว้ด้านล่าง และท่อดูดย้ายไปมุมซ้ายขวา มีท่อดูด 2 ท่อ
เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016-8
ความกว้างของตัวเครื่อง 14 ซม.
เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016-9
ความยาวตัวเครื่อง 36 ซม.
เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016-10
ความสูงของตัวเครื่อง สูง 7 ซม.
เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016-11
หน้าจอสำหรับฟังก์ชันการทำงาน
เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016-12

ภาพรวมของเครื่องซีลสุญญากาศ Fresh Sealer World 2016 ตัวเครื่องดูแข็งแรงและสวยงามกว่าเครื่องรุ่นก่อน และด้วยการเพิ่มท่อดูดและระบบล็อคฝาที่ดูแน่นและแข็งแรง จึงเป็นส่วนเสริมให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ซึ่งหากสังเกตจะเห็นว่าขนาดแท่งซีลจะยังมีขนาดเท่าเดิม ที่ 28 ซม.รอยซีลจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ทำให้รอยซีลมีความแข็งแรงมากขึ้นด้วย
เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016-14
เครื่องซีลสูญญากาศ-Fresh-Sealer-World-2016-13

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

การเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด เครื่องห่อฟิล์ม

การเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด เครื่องห่อฟิล์ม

คำถามโดยทั่วไปสำหรับลูกค้าที่มีความต้องการ การเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด เครื่องห่อฟิล์ม ในการห่อฟิล์มให้กับสินค้าจะประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 3 รายการ คือ ฟิล์มหด,เครื่องตัดฟิล์มหรือเครื่องซีลปากถุง และอุปกรณ์เป่าลมร้อน ในส่วนของฟิล์มหด ที่ได้รับความนิยมจะมี PVC และ PE และในส่วนของเครื่องซีลปากถุงหรือเครื่องตัดฟิล์ม จะถูกนำมาใช้ปิดผนึกปลายข้างใดข้างนึงของฟิล์มหด ก่อนนำสินค้าเข้าไปไว้ในฟิล์มหด ซึ่งจะเลือกตามขนาดความกว้างและระดับการผลิต ในส่วนของอุปกรณ์เป่าลมร้อน จะเลือกตามชนิดของฟิล์ม ขนาดของสินค้า และระดับนการผลิตเช่นกัน
คำถามแรกที่ต้องถามคือระดับการผลิตที่ต้องการ ?
ลูกค้าหลายท่านยังคงใหม่กับการห่อฟิล์มสินค้าและไม่ทราบว่าระดับการผลิตที่ลูกค้าต้องการนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกประเภทของเครื่องที่จะนำมาใช้กับธุรกิจของลูกค้า
ขนาดของสินค้าที่ใหญ่ที่สุดที่ต้องการห่อฟิล์ม ?
ขนาดของสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องอบฟิล์ม เครื่องห่อฟิล์ม ให้เหมาะสมกับสินค้า หากเครื่องที่เลือกใช้งานสมารถใช้งานกับสินค้าขนาดใหญ่สุดที่ต้องการได้ ก็จะสามารถใช้งานกับสินค้าขนาดอื่นๆที่มีขนาดเล็กลงมาได้ทันที
สำหรับระดับการผลิตที่ไม่มากนัก ในระดับเริ่มต้น
เครื่องซีลถุงแบบมือกดเหล็ก ฟิล์มหดแบบม้วน
เครื่องซีลมือกดและเครื่องเป่าลมร้อน เป็นอุปกรณ์ 2 ชนิด พื้นฐานที่สุดของงานห่อฟิล์มสินค้า ที่สามารถใช้งานได้ สามารถใช้ทั้งเครื่องซีลปากถุงในการตัดฟิล์ม หรือซีลปิดปากถุง เพื่อทำเป็นถุงฟิล์ม ก่อนนำสินค้าเข้าไปไว้ในฟิล์ม แล้วใช้เครื่องเป่าลมร้อน ทำการเป่าเพื่อหดรัดฟิล์ม ให้ได้งานตามที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด จะมีราคาไม่แพง เครื่องซีลปากถุง จะมีราคาตั้งแต่ 500-1,500 บาท ส่วนเครื่องเป่าลมร้อม จะมีราคาประมาณ 1,000-1,500 บาท
สำหรับระดับการผลิตในระดับกลาง
การเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด เครื่องห่อฟิล์ม
เครื่องห่อฟิล์ม แบบ I-Bar เป็นเครื่องที่นำอุปกรณ์พื้นฐานของการห่อฟิล์มมารวมกัน มีอุปกรณ์รองรับฟิล์มหด มีอุปกรณ์ตัดฟิล์ม และมีเครื่องเป่าลมร้อมเพื่อห่อฟิล์ม ซึ่งราคาของเครื่องจะแตกต่างตามขนาดหน้ากว้างของฟิล์มที่จะใช้งาน ราคาประมาณ 5,000 บาท
สำหรับระดับการผลิตในระดับสูง
เครื่องอบฟิล์หด-BS-G450
ฟิล์มแพ็คขวดน้ำPVC  ฟิล์มแพ็คถาดโซดา
เครื่องอบฟิล์มหด แบบอุโมงค์ความร้อน สามารถให้กำลังการผลิตที่สูงและมีประสิทธิภาพในการเป่าลมร้อนเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจจะนำไปจับคู่กับเครื่องตัดฟิล์มหรือเครื่องห่อฟิล์มแบบอัตโนมัติ จะยิ่งให้งานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งความเร็วของงานและการหดรัดตัวของฟิล์มที่ออกมาสวยงาม ซึ่งราคาของเครื่องอบฟิล์มหดแบบอุโมงค์ จะเริ่มต้นที่ 25,000 บาท
ดังนั้นเมื่อพิจารณาแล้ว ระดับการผลิตหรือกำลังการผลิตที่ต้องการ และงบประมาณ จะเป็นตัวชี้ถึงเครื่องอบฟิล์ม ที่เหมาะสมกับธุรกิจของท่าน

เครดิต : www.packingthai.com

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

การเลือกฟิล์มหด เพื่อใช้งานกับเครื่องอบฟิล์มหด เครื่องห่อฟิล์ม

การเลือกฟิล์มหด เพื่อใช้งานกับเครื่องอบฟิล์มหด เครื่องห่อฟิล์ม

เมื่อเราต้องการจะทำแพ็คเกจให้กับสินค้า แบบห่อฟิล์มหด โดยใช้เครื่องอบฟิล์มหด นั้น สิ่งที่เราจะต้องพิจารณาก็คือชนิดของฟิล์มที่จะนำมาใช้งาน ดังนั้น การเลือกฟิล์มหด เพื่อใช้งานกับเครื่องอบฟิล์มหด เครื่องห่อฟิล์ม ให้ลองพิจารณารูปแบบของสินค้าที่ต้องการได้ออกมา เพื่อพิจารณาเลือกฟิล์มต่อไป
ฟิล์มแบบ PVC เป็นฟิล์มหดที่ได้รับความนิยมและนำ เพราะเป็นฟิล์มที่มีราคาถูกกว่าฟิล์มประเภทอื่นๆ และสามารถทำงานได้ดีกับเครื่องอบฟิล์มหด ตั้งแต่รุ่นเริ่มต้นไปจนถึงรุ่นที่มีขนาดใหญ่ แต่จะเปราะกว่า ฟิล์มแบบ POF เช่น ฟิล์มแพ็คขวดน้ำแบบใส
การเลือกฟิล์มหด เพื่อใช้งานกับเครื่องอบฟิล์มหด เครื่องห่อฟิล์ม
ฟิล์มแบบ POF หรือ Polyolefin คุณสมบัติ บาง ใส เหนียว มีความเงา สามารถทนในอุณหภูมิที่เย็นได้ ส่วนใหญ่จะนำไปใช้กับสินค้าที่เป็นอาหาร โดยใช้ห่อโดยตรง เพราะไม่มีสารใดๆ แต่ราคาจะแพงกว่า
ฟิล์มแบบ PP หรือ Polypropylene มีคุณสมบัติโดดเด่นมากทั้งในด้านความใส ผิวมันวาว เหนียว ทนต่อแรงดึงได้ดี ไม่มีไฟฟ้าสถิตย์ กันน้ำได้ดี เช่น ฟิล์มหุ้มซองบุหรี่
ฟิล์มแบบ PE หรือ Polyethylene มีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดี ทนความร้อนได้ สามารถใช้กับกระบวนการปิดผนึกความร้อนได้ดี (Shrink Film Machine) และยังสามารถต้านทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีและการกัดกร่อนจากกรดบางประเภทได้ เช่น ฟิล์มแพ็คถาดโซดา
ฟิล์มแพ็คถาดโซดา
เมื่อเราได้ความต้องการแล้วว่าจะใช้งานฟิล์มลักษณะแบบไหน ให้ชิ้นงานของเราออกมาแบบใด เราก็จะมาเลือกใช้งานเครื่องอบฟิล์มหด เครื่องห่อฟิล์ม ให้เหมาะสมกับสินค้าของเราต่อไป

เครดิต : www.packingthai.com

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559

รีวิว เครื่องซีลสูญญากาศ รุ่น DZ-500

รีวิว เครื่องซีลสูญญากาศ รุ่น DZ-500

เครื่องซีลสูญญากาศ หรือที่เรียกอีกหลายอย่างว่า เครื่องแพ็คสูญญากาศ เครื่องดูดสูญญากาศ เครื่องปิดปากถุงสูญญากาศ เป็นเครื่องที่ใช้ดูดอากาศออกจากถุง ก่อน แล้วทำการซีลปิดปากถุง ส่วนใหญ่จะใช้กับสินค้าที่เป็นอาหารสด เช่น ลูกชิ้น เนื้อสัตว์ เนื้อสเต็ก  เป็นต้น เพื่อเป็นการจัดเก็บอาหารหรือสินค้าอยู่ได้ยาวนานยิ่งขึ้น เพราะเมื่อไม่มีอากาศภายในถุงบรรจุภัณฑ์ ก้อทำให้ไม่มีจุลินทรีย์ในอากาศทำปฏิกิริยากับตัวสินค้า ทำให้เครื่องซีลสูญญากาศ ได้รับความนิยมในการใช้งานเป็นอย่างมาก และในช่วงหลังๆ จะเห็นว่าได้มีการนำเอาเครื่องซีลสูญญากาศ มาแพ็คข้าวสาร เพื่อป้องกันมอด ทำให้เพิ่มมูลค่าของสินค้า เครื่องซีลสูญญากาศจึงมีคามนิยมมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงอยากจะรีวิว เครื่องซีลสูญญากาศ รุ่น DZ-500 ซึ่งเป็นรุ่นที่ยอดนิยม หรือเรียกอีกอย่างว่ารุ่นที่คุ้มค่า สำหรับงานแพ็คข้าวสาร หรืองานแพ็คสินค้า อื่นๆ
หน้าตาเครื่องซีลสูญญากาศ รุ่น DZ-500 ตัวเครื่องทำจากแสตนเลส ฝาเป็นอะคริลิค
รีวิว เครื่องซีลสูญญากาศ รุ่น DZ-500
เมื่อยกฝาอะคริลิคขึ้น พร้อมใช้งาน จะเห็นห้องสูญญากาศสำหรับวางสินค้า มีแท่งซีล 2 ข้าง ซ้าย-ขวา สามารถวางถุงได้ทั้ง 2 ฝั่ง
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-1
มุมมองด้านข้างของตัวเครื่อง จะสังเกตเห็นฝาด้านข้างนั้น สามารถเปิด-ปิด ได้ง่าย ซึ่งจะดวกมากๆ ในการเปิดเพื่อบำรุงรักษา ต่างจากอีกยี่ห้อ ที่จะต้องไขน็อตทางด้านหลัง ซึ่งเรามองว่าเป็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แต่ดีมากๆและมีประโยชน์สุดๆ
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-2
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-3
ระบบไฟฟ้า เป็นไฟบ้าน 220 V. มีเบรกเกอร์สำหรับเปิด-ปิด
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-4
ความกว้างของตัวเครื่อง 580 มม. ความยาว 650 มม.
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-4
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-6
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-7
ตัวเครื่องสูง 1020 มม.
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-8
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-9
แท่งซีล ยาว 500 มม. จำนวน 2 แท่ง ซ้าย-ขวา จะสังเกตเห็นแท่งซีลมาพร้อมเหล็กสำหรับกดพับปากถุง เพิ่มความสะดวกในการวางถุง
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-10
ขนาดของห้องสุญญากาศ 520 มม. * 520 มม.
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-11
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-12
ฝาอะคริลิค หนา 1 นิ้ว
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-13
หน้าจอควบคุมการทำงาน
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-14
เนมเพลของตัวเครื่อง
เครื่องซีลสูญญากาศ-DZ500-15

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

จัดเก็บหมอนยางพารา เครื่องซีลสูญญากาศ ซีลหมอนยางพารา

จัดเก็บหมอนยางพารา เครื่องซีลสูญญากาศ ซีลหมอนยาพารา

น้ำยาง จากต้นยางพารา เป็นของเหลวสีขาว ที่มาจากการกรีดยางจากต้นยาง ประกอบด้วยอนุภาค ยาง น้ำและ ชิ้นเนื้อ เล็ก ๆ เนื่องจาก ความยืดหยุ่น สูง ก็จะ ใช้ในการทำ ยางและ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น รองเท้า , ลูกโป่ง , ถุงมือ, ที่นอน และ อื่น ๆ อีกมากมาย ในความเป็นจริง น้ำยาง เป็นหนึ่งใน วัสดุ ธรรมชาติที่ดีที่สุด ที่จะทำให้ ที่นอน และหมอน เพราะ ลักษณะ ที่ยืดหยุ่น ป้องกันไร ฝุ่นและ ทนต่อ เชื้อรา
การสกัดน้ำยางจากต้นยาง ต้องใช้ทักษะและความแม่นยำ เมื่อเก็บเกี่ยวน้ำยางจากเปลือกต้นไม้ คนงานตัดแถบของเปลือกครึ่งรอบ ต้นไม้ ช่วยให้น้ำยางคายออกมา ต้นยางที่สามารถให้ผลผลิตน้ำยาง มีอายุ 25 ถึง 30 ปี หลังจากนั้น ต้นไม้ที่ถูกโค่น สามารถนำไปใช้ เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่นเฟอร์นิเจอร์ สิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น
เคยสงสัยว่า ที่นอนและหมอนยางพารา มีขั้นตอนการผลิตอย่างไร กระบวนการผลิต ที่นอนและหมอนยางพารา ค่อนข้างจะเป็นขบวนการหนึ่งที่น่าสนใจ จะทำโดยการนำน้ำยางพาราที่ผ่านการผสมทางเคมี เทลงในแม่พิมพ์ขนาดใหญ่ แท่งเหล็กที่อยู่ในแม่พิมพ์จะช่วยส่งผ่านความร้อนและทำให้โฟมยางถ่ายเทอากาศได้ดี ปิดแท่นแม่พิมพ์ แล้วนำยางเข้าอบด้วยความร้อน เมื่ออบเรียบร้อยถอดโฟมยางที่ได้ออกจากแท่นแม่พิมพ์ แล้วนำไปทำความความสะอาดด้วยน้ำบริสุทธิ์ เพื่อล้างสารเคมีและสิ่งตกค้างออกจากเนื้อโฟมยางพารา เมื่อล้างทำความสะอาดเรียบร้อย นำโฟมยางไปเข้าเครื่องอบความชื้น เพื่อทำการไล่ความชื้นออกจากโฟมยาง เมื่อได้โฟมยางที่อบไล่ความชื้นแล้ว นำไปตัดให้ได้ตามขนาดและความหนาที่ต้องการนำไปบรรจุถุงพลาสติกเพื่อป้องกันความชื้นและสิ่งสกปรก ปัจจุบันนิยมจัดเก็บ โดยใช้ เครื่องซีลสูญญากาศ ซีลหมอนยางพารา เพื่อให้ชิ้นงานจัดเก็บให้ได้ยาวนานยิ่งขึ้น และความสะดวกในการจัดส่งสินค้า
เครื่องซีลสูญญากาศ ซีลหมอนยางพารา
เครื่องซีลสูญญากาศ ซีลหมอนยางพารา
เครื่องซีลสูญญากาศ ซีลหมอนยางพารา
เครื่องซีลสูญญากาศ ซีลหมอนยางพารา
เครื่องซีลสูญญากาศ ซีลหมอนยางพารา
เครื่องซีลสูญญากาศ ซีลหมอนยางพารา

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

การถนอม ยืดอายุ เนื้อสัตว์ ซี่โครงไก่ อาหารทะเล ด้วยเครื่องซีลสูญญากาศ

การถนอม ยืดอายุ เนื้อสัตว์ ซี่โครงไก่ อาหารทะเล ด้วยเครื่องซีลสูญญากาศ
การถนอม ยืดอายุ เนื้อสัตว์ ซี่โครงไก่ อาหารทะเล ด้วยเครื่องซีลสูญญากาศ
การถนอมรักษาเนื้อสัตว์เป็นการยืดอายุเนื้อสัตว์ให้เสื่อมเสียช้าลง ให้สามารถเก็บได้นานขึ้นการถนอมรักษาเนื้อ ที่มีประสิทธิ ภาพควรเริ่มจากการสุขาภิบาลโรงงานที่ดี เพื่อช่วยลดปริมาณการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในเนื้อสัตว์ซึ่งจะ เป็นสาเหตุให้เกิดการ เสื่อม เสียต่างๆ ตามมา วิธีการการถนอมรักษาเนื้อสัตว์สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การ ทำแห้ง ซึ่งเป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุด การใช้ความร้อน การใช้ความเย็น การใช้รังสี และการใช้สารเคมี เป็นต้น
การทำแห้ง
การทำแห้ง (drying) เป็นการทำให้ปริมาณน้ำในเนื้อถูกกำจัดออกไป น้ำส่วนที่ถูกกำจัดออกไปคือน้ำอิสระซึ่งอยู่ ไกลจากประจุไฟฟ้าของโมเลกุลโปรตีนที่สุด ส่วนน้ำที่เหลืออยู่ภายหลังจากการทำแห้งจะเป็นน้ำที่ถูกตรึงซึ่งเป็นน้ำส่วน ที่อยู่ในโครงสร้างหรือองค์ประกอบของสารอาหารในเนื้อสัตว์ จุลินทรีย์ไม่สามารถนำน้ำส่วนนี้มาใช้ประโยชน์ได้จึงเป็น การช่วย ให้เกิดการเสื่อมเสียช้าลง ผลิตภัณฑ์เที่นิยมถนอมโดยการทำแห้ง ได้แก่ เนื้อตากแห้ง หมูแผ่น ไส้กรอก กุนเชียง เป็นต้น การทำแห้งสามารถแบ่งตามหลักการให้ความร้อนได้ 3 วิธี ได้แก่ การทำแห้ง ด้วยแสงอาทิตย์ การใช้ลมร้อน และการทำให้แห้งโดยการใช้ความเย็น ดังนี้
1. การทำแห้งด้วยแสงอาทิตย์
วิธีการทำแห้งด้วยแสงอาทิตย์(sun drying) เป็นการใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวิธีที่เก่าแก่ ที่สุดและใช้กันมาเป็นเวลานาน โดยการนำเนื้อสัตว์ไปตากให้แห้งด้วยแสงอาทิตย์ แต่เนื้อตากแห้งที่ได้มักมีการปนเปื้อน ของจุลินทรีย์สูง และอาจมีความชื้นเหลืออยู่สูงมากซึ่งถ้าเก็บไว้นานอาจจะเสียได้ง่าย การทำแห้งด้วยวิธีนี้ต้องควบคุม ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการทำแห้งเป็นอย่างดี เช่น ขนาดชิ้นเนื้อ เวลาในการทำแห้ง อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมและฤดูกาล เป็นต้น ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นการทำแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังคงมีต้นทุนสูงกว่าวิธีเก่า
2. การทำแห้งด้วยลมร้อน
วิธีการทำแห้งด้วยลมร้อน (hot air-drying) เป็นวิธีที่ถูกปรับปรุงขึ้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้แสงอาทิตย์ โดยการใช้อุปกรณ์ช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งตามต้องการและมีความชื้นสม่ำเสมอ ผลิตภัณฑ์ที่ตาก แห้งโดยวิธีนี้จะมีความ สะอาดและลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ได้ดีกว่าการทำแห้งด้วยแสงอาทิตย์แบบเก่า การทำแห้งด้วย ลมร้อนที่นิยมใช้กับ เนื้อสัตว์ คือ การใช้ตู้อบลมร้อน (hot air oven) และตู้อบแบบอุโมงค์ (carbinet dryer) โดยการตากผลิตภัณฑ์ในตู้ขนาด ใหญ่ซึ่งมีลมร้อนเป่าผ่าน จึงสามารถระเหยน้ำออกไปกับลมร้อนและปล่อยออกทางช่องระบายลมภายในตู้อบโดยใช้ อุณหภูมิในการอบประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส
3. การทำแห้งด้วยความเย็น
การทำแห้งด้วยการใช้ความเย็น (freeze drying) เป็นการทำแห้งที่ ใช้หลักการระเหิดของน้ำโดยการแช่แข็งเนื้อ ก่อน จากนั้นทำให้แห้งเพื่อดึงน้ำออกจากชิ้นเนื้อในสภาพที่เป็นสุญญากาศ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีราคาแพง ซึ่ง มักนิยมใช้วิธี กับเนื้อสัตว์ที่เติมในอาหารประเภทซุปในขั้นตอนการทำแห้งวิธีนี้จะต้องลดอุณหภูมิของชิ้นเนื้อลงจนถึงจุดเยือกแข็งอย่าง รวดเร็ว จนน้ำในเนื้อกลายเป็นน้ำแข็ง เมื่อสัมผัสความร้อนที่เพิ่มขึ้นภายใต้การควบคุมความดันสุญญากาศที่เหมาะสม จะทำให้น้ำแข็งเกิดการระเหิดกลายเป็นไอน้ำไปได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อน โดยควบคุมสภาพสุญญา กาศ ให้มีความ ดันบรรยากาศที่ 1.0-1.5 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ 43 องศาเซลเซียส จะทำให้น้ำแข็งระเหิดกลายเป็น ไอได้ดีที่สุดผลิตภัณฑ์ ที่ได้จะมีความชื้นต่ำกว่า 2.0 มีลักษณะเป็นรูพรุน โปร่ง คงรูปร่างเดิมได้ดีและสามารถดูดน้ำกลับ คืนสู่สภาพเดิมได้ง่าย
การหมักเกลือ
การหมักเกลือ (salting) หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าการเคียวร์ (curing) เป็นวิธีที่นิยมทำมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 การหมักเกลือ เป็นการใช้เกลือ เพื่อถนอมรักษาเนื้อและมีการใช้ดินประสิวหรือสารประกอบไนเตรตร่วมด้วย โดยในสมัย นั้นยังไม่มีการนำสาร ปน เปื้อนต่าง ๆ ออกไปต่อมามนุษย์ จึงรู้จักการทำดินประสิวให้บริสุทธิ์และทราบว่ามีผลดีต่อสีของ ผลิตภัณฑ์ ในอดีตการทำเนื้อเค็ม มักมีวัตถุประสงค์ที่ทำให้เนื้อเค็มและตากแห้งเก็บไว้ เท่านั้น
การใช้เกลือเป็นสารหมักจะทำหน้าที่ถนอมรักษาเนื้อสัตว์โดยการป้องกันหรือ ยับยั้งและลดการเจริญของแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย ในระหว่างการหมักนี้เกลือจะซึมเข้าไปในเนื้อสัตว์ และเนื่องจากค่าความถ่วงจำเพาะที่แตกต่างกัน ของสารละลายเกลือและน้ำที่อยู่ในเนื้อ (meat juice) จึงทำให้น้ำบางส่วนในเนื้อไหลซึมอออกมา การปล่อยให้เนื้อหมัก เกลือเป็นเวลานานจะทำให้ความชื้นของชิ้นเนื้อลดลงและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรสเค็ม สูตรที่ใช้ในการหมักเนื้อแต่ละสูตรจะ มีคุณภาพที่แตกต่างกัน การใช้ปริมาณเกลือและน้ำตาลที่มีในสูตรอย่างเหมาะสมจะมีผลต่อการป้องกันการเน่า เสียได้ พบว่า สูตรที่ใช้เกลือมากจะมีประสิทธิภาพมากกว่า อย่างไรก็ตาม การใช้เกลือมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดรสเค็มเกินไป ได้การหมักเนื้อด้วย เกลือโดยทั่วไปมี 3 วิธี ได้แก่ การหมักแห้ง การดองและการฉีด
1. การหมักแห้ง
การหมักแห้ง (dry curing) เป็นการใช้ส่วนผสมเพื่อการหมักในรูปผงแห้ง เช่น เกลือ เกลือไนเตรตหรือไนไตรต์ หรือเครื่องเทศ น้ำตาล โดยการทาส่วนผสมที่ผิวนอกหรือคลุกให้ทั่วเนื้อที่จะหมักในขณะที่ส่วนผสมหรือเครื่องปรุงซึมเข้า ไปในเนื้อนั้นน้ำในเนื้อจะไหล ออกมาจึงทำให้เนื้อ แห้งลง การหมักแห้งมักใช้ในการทำผลิตภัณฑ์เช่น แฮม เบคอน เนื้อเค็ม เนื้อสวรรค์และปลาเค็ม อุณหภูมิที่เหมาะสม ในการหมัก คือ 2 - 5 องศาเซล เซียสการทาเครื่องปรุงบนก้อน เนื้อที่จะหมักนั้น มักทาที่ผิวนอกในช่วงห่าง 1-3 หรือ 5 วันส่วนปริมาณ เครื่องปรุงที่ใช้ทาจะขึ้นกับความเข้มข้นของเกลือ ที่ต้องการโดยทั่วไปใช้ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเนื้อสดการดูดซึมเกลือจาก ด้านนอกเข้าไปในเนื้อจะช้ากว่า เมื่อเทียบกับวิธีการหมัก ดอง นอกจากนี้ส่วนของหนังและไขมันของเนื้อยังเป็นปัจจัยที่ทำให้การซึมของ เกลือช้าลงด้วย ในการหมักแห้งมักจะใช้ เฉพาะเครื่องปรุงพื้นฐานดังกล่าว ข้างต้นและไม่นิยมเติมสารอื่นโดยเฉพาะเกลือแอสคอร์เบต หรือฟอสเฟต
2. การหมักดอง
การหมักดอง (wet curing, wet immersion brining, pickle curing) เป็นการหมักโดยการใช้น้ำเกลือซึ่งมีความ เข้มข้นของเกลือ ระหว่าง 15-25 เปอร์เซ็นต์ และมีไนเตรต 0.2-1.3 เปอร์เซ็นต์ ไนไตรต์ 0.03-0.1 เปอร์เซ็นต์รวมทั้ง น้ำตาลและเครื่องเทศต่าง ๆ ส่วนเครื่องเทศที่ใช้มักจะห่อด้วย ผ้าขาวบางแล้วแช่ไว้ในน้ำเกลือ การแช่น้ำเกลือจะ ทำให้ น้ำใน เนื้อไหลออกมาขณะที่น้ำเกลือจะเข้าไป แทน ที่โดยทั่วไปในการเตรียมน้ำเกลือหาก ต้องการเติมไนเตรตหรือ ไนไตรต์ ด้วยควรจะต้องระมัดระวังปริมาณที่ใช้โดยพิจารณาจาก กฎหมายที่อนุญาตให้ใช้ได้ เนื่องจากการใช้มากเกินไป จะได้ ผลิตภัณฑ์ที่มีสีแดงเข้มผิดปกติและอาจทำให้เป็นพิษได้ ปริมาณของไนเตรต และไนไตรต์ที่สามารถใช้ได้สูงสุดคือ 500 และ 125 ส่วนในล้านส่วนตาม ลำดับ โดยคำนวณในรูปเกลือโซเดียมไนเตรตและโซเดียมไน ไตรต์ และหากต้องการ ให้การหมักเกิดเร็วขึ้นอาจทำในสภาพสุญญากาศและภายใต้ความ ดันในภาชนะปิดก็ได้
3. การฉีดน้ำเกลือ
การหมักโดยวิธีฉีดน้ำเกลือเป็นการเตรียมส่วนผสมในรูปน้ำเกลือหรือน้ำปรุงจากนั้นจึงฉีดเข้าไปในเนื้อที่ต้อง การหมักการฉีดน้ำ เกลือจะต้อง ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในเนื้อให้ทั่วทั้งหมดโดยให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักเนื้อ เช่นการทำแฮมจะฉีดน้ำเกลือให้มี น้ำหนักเพิ่ม ขึ้นระหว่าง 25-40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักก่อนฉีด โดยทั่วไปการฉีดน้ำเกลือแบ่งได้เป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อและการฉีดเข้า เส้นเลือด
การใช้ความร้อน
การใช้ความร้อนเป็นวิธีการถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่ง การใช้ความร้อนสามารถ ช่วยทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหาร เสื่อมคุณภาพหรือเป็นพิษได้ รวมทั้งหยุดปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ที่อาจทำให้เนื้อเสื่อมคุณภาพ
1. หลักการใช้ความร้อนในการถนอมเนื้อสัตว์
การใช้ความร้อนที่ใช้ในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์สามารถจัดแบ่งได้เป็น 2 ระดับเป็นการใช้ความร้อน ในระดับต่ำกว่าจุดเดือด และการใช้ความร้อนสูงกว่าจุดเดือด
1.1 การใช้ความร้อนในระดับต่ำกว่าจุดเดือด
การใช้ความร้อนระดับต่ำกว่าจุดเดือดเป็นการใช้ความร้อนเพื่อการทำลายจุลินทรีย์บางส่วนในอาหาร โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เรียกการใช้ความร้อนในระดับนี้ว่า การพาสเจอไรเซชัน (pasteurization) ความร้อน จะช่วยยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ได้ ผลิตภัณฑ์เนื้อที่นิยมใช้ความร้อนระดับนี้ ได้แก่ แฮม เบคอน และไส้กรอก เป็นต้น โดยทั่วไปมักให้ความร้อนจนกระทั่งอุณหภูมิภายในผลิตภัณฑ์สูงถึง 65-75 องศาเซลเซียส นอกจากความร้อนจะช่วย ทำลายจุลินทรีย์แล้วยังช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะแน่นและมีความคงตัว
1.2 การใช้ความร้อนสูงกว่าจุดเดือด
การใช้ความร้อนสูงกว่าจุดเดือด (sterilization) เป็นการใช้ความร้อนในระดับสูงกว่าจุดเดือดจึงสามารถ ทำลายจุลินทรีย์ทั้งหมดในผลิตภัณฑ์เนื้อได้ วิธีนี้นิยมใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อ กระป๋องส่วนใหญ่ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์ ที่มีความคงตัวโดยไม่ต้องเก็บรักษาในตู้เย็น ความร้อนที่ระดับนี้ต้องใช้ความดันไอน้ำช่วย เพื่อทำให้อุณหภูมิในหม้อนึ่งฆ่าเชื้อสูงกว่าจุดเดือด แต่ระดับความร้อนที่ใช้มีผลต่อความอร่อยของเนื้อถ้าใช้ความร้อน สูงขึ้นความอร่อยของเนื้อสัตว์ ก็จะลดลงไปตามความร้อนที่เพิ่มขึ้นด้วย
การใช้ความเย็น
การนำความเย็นมาใช้ช่วยทำให้เก็บวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปของโรงงานไว้ได้นานขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ สำเร็จรูปแช่เย็นและแช่เยือกแข็งหลายชนิด และยังก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากมายการใช้ความเย็นถนอมอาหาร มีความสำคัญทั้งในระดับครัวเรือนโดยทำให้เก็บรักษาเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์และอาหารอื่นๆได้นานขึ้นส่วนระดับอุตสาหกรรมจะช่วยรักษาคุณภาพของวัตถุดิบและชะลอการเสื่อมเสียระหว่างรอการผลิตหรือการเก็บรักษาวัตถุดิบไว้ได้นานขึ้น รวมทั้งช่วยปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบและยังช่วยให้เกิดผลิตภัณฑ์พร้อมปรุงหรือพร้อมบริโภคมากมาย เช่น ซาลาเปาเนื้อ และปลาบดทอดแช่เยือกแข็ง ชุดอาหารซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของผัก เนื้อ และเครื่องปรุงต่างๆ เป็นต้น ความเย็นที่ใช้ ในการถนอมรักษาเนื้อสัตว์ใช้เพื่อยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์เท่านั้น โดยอุณหภูมิที่ใช้ให้ความเย็น จะขึ้นอยู่กับเวลาที่ต้องการเก็บรักษา ถ้าต้องการเก็บไว้เพียงไม่กี่วันอาจเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำ (cooling) หากต้องการเก็บไว้เป็นเวลานานควรเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (freezing) การใช้ความเย็นสามารถแบ่งตามระดับของการใช้ อุณหภูมิได้ 2 ระดับ คือ การใช้อุณหภูมิเหนือจุดเยือกแข็งหรือการแช่เย็น และการใช้อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งหรือ การแช่เยือกแข็ง โดยใช้เครื่องซีลสูญญากาศ สำหรับจัดเก็บ ก่อนทำการแช่เย็นหรือแช่เยือกแข็ง
1. การแช่เย็น
ภายหลังการชำแหละมีการนำซากที่ได้เข้าไปเก็บห้องเย็นเพื่อลดอุณหภูมิ ของซากลงเพื่อป้องกันการเน่าเสีย ที่จะเกิดขึ้นกับซาก สำหรับซากโคจะต้องถูกห่อด้วยผ้าบาง ๆ ก่อนนำเข้าห้องแช่เย็นเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำหนักและ การหดตัวในระหว่างการแช่เย็น การแช่เย็นซากโคควรใช้ห้องเย็น 2 ระดับ ห้องแรกเป็นห้องที่ลดอุณหภูมิของซากให้ต่ำลง (chilling room) ซึ่งมีอุณหภูมิที่ (-4) ถึง (-2) องศาเซลเซียส ห้องที่สองเป็นห้องเก็บรักษาซากที่ต้องควบคุมให้ต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส ตลอดเวลาเพื่อให้อุณหภูมิของซากที่เก็บรักษาอยู่มีอุณหภูมิในช่วง 3-7 องศาเซลเซียส การลดอุณหภูมิ ของเนื้อจะแตกต่างกันไปตามอัตราส่วนของไขมันและเนื้อแดงซึ่งทำให้ค่าความจุความร้อน (heat capacity) หรือความ ร้อนเฉพาะ (specific heat) ของชิ้นเนื้อต่างกัน เช่น ความจุความร้อนของเนื้อหมูมีค่าตั้งแต่ 0.51–0.57 และเนื้อลูกวัวมีค่าตั้งแต่ 0.70-0.77 เป็นต้น สำหรับซากสุกร แกะ และลูกโค ภายหลังจากลดอุณหภูมิของซากในห้อง แช่เย็นแล้ว สามารถนำออกจำหน่ายได้ แต่ซากโคต้องเก็บไว้ในห้องแช่เย็นนาน 1-3 วันเพื่อให้อุณหภูมิภายในเป็น -1 องศาเซลเซียส จนกระทั่งซากเกิดการเกร็งตัวทั้งหมดก่อน จึงนำไปเก็บไว้ในห้องที่สองนาน 1-5 สัปดาห์ เพื่อให้เนื้อนุ่มก่อนจำหน่าย ถ้าต้องการให้เวลาน้อยลงสามารถใช้อุณหภูมิสูงขึ้นได้แต่จะเสี่ยงต่อการเน่าเสียเนื่องจากจุลินทรีย์ ระหว่างการถนอมรักษา ซากโคไว้ในห้องเย็น จะต้องทำให้มีการสูญเสียน้ำหนักหรือการหดตัวเกิดขึ้นน้อยที่สุดเพื่อให้คุณภาพของเนื้อไม่เปลี่ยน แปลงมาก หากซากเกิดการหดตัวมากจะทำให้ผิวนอกแห้งเหี่ยวย่นและมีสีคล้ำ ซึ่งจะไม่สะดุดตาผู้บริโภคห้องเย็นควรรักษา ความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ระหว่าง 88 และ 92 เปอร์เซ็นต์ มีผู้รายงานว่าถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าระดับนี้จะทำให้ซากเกิดการ เน่าเสีย เนื่องจากแบคทีเรียที่ทำให้เกิดเมือกที่ผิวและเชื้อราจะสามารถเจริญได้ ห้องเย็นที่เก็บเนื้อควรมีระบบหมุนเวียนลมเย็นความเร็วสูงเพื่อให้ลมเย็นมีความชื้นสูงพอเพื่อป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์เจริญบนผิวหน้าของซาก การรักษาซาก ในสภาพนี้จะช่วยลดการสูญเสียน้ำหนักซากจาก 1.9 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 1.3 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น
2. การแช่เยือกแข็ง
กระบวนการแช่เยือกแข็งเป็นการลดอุณหภูมิของอาหารโดยดึงความร้อน ออกเพื่อลดอุณหภูมิของอาหารลง เรื่อย ๆ จนต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส โดยทั่วไป จุดเยือกแข็งของอาหารทุกชนิดจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ (0 องศาเซลเซียส) เนื่องจากน้ำภายในเซลล์ของอาหารจะมีสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์หลายชนิดละลายอยู่ โดยผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีอุณหภูมิเยือกแข็งที่ต่างกัน
การแช่เยือกแข็งสามารถแบ่งได้ 2 แบบ โดยแบ่งตามช่วงเวลาและระดับความเย็น ได้เป็นการแช่เยือก แข็งธรรมดา และการแช่เยือกแข็งฉับพลัน ดังนี้
2.1 การแช่เยือกแข็งธรรมดา
การแช่เยือกแข็งธรรมดา (deep freezing) เป็นการแช่ผลิตภัณฑ์ให้เยือกแข็งด้วยอุณหภูมิที่ 5-(-20) องศาฟาเรนไฮด์ โดยใช้เวลา 3-72 ชั่วโมง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เย็นถึงจุดเยือกแข็งทั้งชิ้นเนื้อ Sawyer และคณะ (1960) ใช้อุณหภูมิ –10 องศาฟาเรนไฮด์หรือต่ำกว่าโดยไม่มีการรบกวนหรือเป่าลมให้หมุนเวียนเพื่อแช่ชิ้นเนื้อให้เย็นถึงจุด เยือกแข็งทั้งชิ้นโดยใช้เวลานานกว่า 48 ชั่วโมง
2.2 การแช่เยือกแข็งฉับพลัน
การแช่เยือกแข็งแบบฉับพลัน(quick freezing) เป็นการแช่เยือกแข็ง ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำให้เนื้อ เกิดเยือกแข็งทั้งชิ้นภายในเวลาไม่เกิน 90 นาที หรือให้มีอัตราการเยือกแข็งผลิตภัณฑ์ไม่น้อยกว่านาทีละ 0.3 เซนติเมตรของความหนาของชิ้นเนื้อและระยะเวลาที่ทำให้เป็นเกล็ดน้ำแข็งมากที่สุดต้องไม่เกิน 30 นาทีการแช่เยือกแข็ง แบบธรรมดาและแบบฉับพลันมีข้อแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่ขนาดและลักษณะของผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในเนื้อสัตว์ โดยทั่วไป ผลึกน้ำแข็งที่เกิดจากการแช่เยือกแข็งธรรมดาจะมีขนาดใหญ่และมีลักษณะแหลมคม ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายนอกเซลล์ เส้นใยกล้ามเนื้อ ระหว่างที่น้ำภายในเซลล์เกิดเป็นผลึกน้ำแข็งขึ้นจะทำลายเนื้อเยื่อที่หุ้มเซลล์ เมื่อนำเนื้อไปละลายน้ำแข็ง ก่อนการปรุงอาหาร หรือการแปรรูปจะมีการสูญเสียน้ำจากชิ้นเนื้อไปมาก ลักษณะเนื้อนิ่มและแห้งคุณค่าทางโภชนาการ ลดลง เนื่องจากวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดที่ละลายน้ำได้จะสูญเสียไปกับน้ำ ส่วนผลึกน้ำแข็งจากการแช่เยือกแข็งแบบฉับพลันจะมีลักษณะที่มีขนาดเล็กและละเอียด ลักษณะของผลึกไม่แหลมคม ผลึกน้ำแข็ง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายในเซลล์ เส้นใยกล้ามเนื้อเมื่อผลึกน้ำแข็งละลายตัวจึงทำให้เซลล์ของเนื้อสัตว์ยังคงสภาพเดิมได้ดี เนื้อสัตว์ที่ได้จึงมีคุณภาพดี และมีการสูญเสียน้ำจากชิ้นเนื้อน้อยกว่า
ยังมีวิธีการถนอมเนื้อสัตว์ ประเภทอื่นๆ อีก เช่น การรมควัน การฉายรังสี การใช้สารเคมีและสารปฏิชีวนะ จะขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้เหมาะสมต่อสินค้าและธุรกิจมากที่สุด


ที่มา : elearning.nsru.ac.th/web_elearning/meattech

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

รีวิว เปรียบเทียบ เครื่องซีลสูญญากาศ แบบตั้งโต๊ะ DZ-260 กับ Brother VM-300

รีวิว เปรียบเทียบ เครื่องซีลสูญญากาศ แบบตั้งโต๊ะ DZ-260 กับ Brother VM-300
เครื่องซีลสูญญากาศ เครื่องแพ็คสูญญากาศ แบบตั้งโต๊ะ เป็นรุ่นเริ่มต้นของแบบห้องสูญญากาศ ตัวเครื่องทำจากแสตนเลส มีระบบการตั้งค่าแสดงด้วยระบบดิจิตอล ตั้งค่าการดูดอากาศ การซีล การทำให้เย็น โดยสามารถตั้งค่าได้หลากหลายให้เหมาะสมกับสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เหมาะสำหรับการแพ็คข้าวสาร ลูกชิ้น ผัก ผลไม้ อาหาร เป็นต้น เพื่อถนอมอาหาร ยืดอายุอาหารให้เก็บไว้ได้นานมากขึ้น ปั๊มดูดอากาศขนาดใหญ่ สามารถรองรับการทำงานแบบ SME ทำงานได้ต่อเนื่อง 8 ชั่วโมง
เครื่องซีลสูญญากาศ แบบตั้งโต๊ะ มี 2 รุ่น คือ เครื่องซีลสูญญากาศ รุ่น DZ-260 และ เครื่องซีลสูญญากาศ Brother VM-300 ทั้ง 2 รุ่น จะค่อนข้างคล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันที่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แต่เพื่อความชัดเจน จะเจาะลึกให้เห็นกันชัดๆ ว่าทั้ง 2 รุ่น แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
เครื่องซีลสูญญากาศ DZ-260 จะมีสวิตซ์เปิด-ปิดอยู่ด้านหลังเครื่อง  และจะมีตำแหน่งขันน็อตแบบหกเหลี่ยมอยู่บริเวณด้านหน้า1  ตัว เพื่อเปิดและยกขึ้นเพื่อตรวจสอบรายละเอียดภายในตัวเครื่อง
ส่วน เครื่องซีลสูญญากาศ Brother VM-300 จะมีสวิตซ์เปิด-ปิดอยู่ด้านหน้าเครื่อง ปุ่มสีเขียว และหากต้องการตรวจสอบรายละเอียดภายในตัวเครื่อง ทำได้โดยขันน็อตทั้งหมด 6 ตัว บริเวณฝาหลังของเครื่อง

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300     เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
อุปกรณ์ที่แถมมากับตัวเครื่อง คู่มือ น้ำมันปั๊ม ลวดซีล ยางรองขอบฝา ผ้าเทปลอน

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
ความกว้างของตัวเครื่องสูญญากาศ

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300     เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
ความสูงของตัวเครื่องสูญญากาศ
เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
ความยาวของตัวเครื่องสูญญากาศ

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
ขนาดความยาวของแท่งซีล ของเครื่องซีลสูญญากาศ

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300     เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
ความลึกของห้องสูญญากาศ ของเครื่องซีลสูญญากาศ

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
ความกว้างของห้องสูญญากาศ ของเครื่องซีลสูญญากาศ
เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300     เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
ความยาวของห้องสูญญากาศ ของเครื่องซีลสูญญากาศ

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
ลักษณะของแท่งซีล ของเครื่องซีลสูญญากาศ ทั้ง 2 รุ่น

เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
เครื่องซีลสูญญากาศDZ260-Brother-VM300
ลักษณะของจุดยึดฝา ของเครื่องซีลสูญญากาศ ทั้ง 2 รุ่น
Specification : DZ-260
Chamber size: 280x390x80 mm.
Single sealing-bar(LxW): 260x10 mm.
Vacuum pump
Capacity: 10m3/H
Cycle time : 10-25 sec
Voltage: 220V/50HZ/1PH
Power: 0.65 Kw
Machine size: 480x330x350 mm.

Specification : BrotherVM-300
Chamber size: 280x385x80 mm.
Single sealing-bar(LxW): 260x8 mm.
Vacuum pump
Capacity: 10m3/H
Cycle time : 10-25 sec
Voltage: 220V/50HZ/1PH
Power: 0.65 Kw
Machine size: 490x450x320 mm.

วิดีโอแสดงการทำงานของ เครื่องซีลสูญญากาศ แบบตั้งโต๊ะ รุ่น DZ-260 และ Brother VM-300

เมื่อพิจารณารายละเอียดของ เครื่องซีลสูญญากาศ DZ-260 และ Brother VM-300 นั้น จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 รุ่นนั้น จะมีความแตกต่างในรายละเอยดเล็กๆน้อยๆ เช่น สายปลั๊กไฟ ที่มากับตัวเครื่อง ของรุ่น Brother  VM-300 จะให้มาแบบที่ดูมีมาตรฐานและมีขนาดใหญ่กว่า เป็นต้น ส่วนในรายละเอียดที่แตกต่างกับแบบชัดเจน คือ เครื่องซีลสูญญากาศ Brother VM-300 จะมี 10 โปรแกรม สามารถบันทึกการตั้งค่า การดูด การซีล ได้ 10 ค่า ตามความต้องการใช้งาน ส่วน DZ-260 นั้น จะมี 1 โปรแกรม